WeExpo ศูนย์บริการเครื่องมือและสินค้าทางการเงิน

We -Wealth Expo-Exponentially พวกเราขอเชิญมาชม มาคุย แลกเปลี่ยน วางแผน เตรียมการ รองรับกับความมั่งคั่ง มั่นคง ทวีคูณอย่างต่อเนื่อง ทั้งในชีวิต และเชิงธุรกิจ

All posts by admin

การบริหารภาษี

การบริหารภาษีอากร (Tax Management) เป็นการบริหารการเสีย
ภาษีอากรของธุรกิจเพื่อให้กิจการได้รับประโยชน์สูงสุด ลดต้นทุนให้ต่ำลง
ภายใต้เงื่อนไขที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นการดำเนินงานอย่างรัดกุม
เพื่อป้องกันภาระที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตของกิจการ

การวางแผนภาษี

การวางแผนภาษี หมายถึง การเตรียมการเพื่อ
เสียภาษี โดยศึกษา ระเบียบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่างๆ
และมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เสียภาษีได้อย่างถูกต้อง
ครบถ้วน สมเหตุสมผล และเหมาะสมที่สุด

การหลบหลีกภาษีอากร

การที่ผู้เสียภาษีใช้วิธีการที่ถูกต้องตามกฏหมายเพื่อทำให้ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยลงโดยใช้
ช่องโหว่ของกฎหมายภาษีอากร(Tax Loopholes) เช่น การที่ผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินได้ที่ได้รับจาก
การทำงานหรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศข้ามาในปีภาษีเดียวกันกับที่ได้รับเงินได้นั้น แต่นำเข้ามาในปีภาษีอื่น
ทำให้ไม่ต้องเสียภาษี ก็เป็นการหลบหลีกที่ไม่ผิดกฏหมายเพราะตามแนวปฏิบัติของกรมสรรพากร หากผู้มีถิ่นที่
อยู่ในประเทศไทยไม่นำเงินที่ได้รับจากการท างานหรือประกอบธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาในประเทศไทยในปี
ภาษีเดียวกับที่ได้รับเงินได้นั้น กรมสรรพากรก็ไม่เก็บภาษี (หนังสือกรมสรรพากร ที่ กค 0802 /696
ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2530)

1. มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง?

หลังจากที่ลูกค้าได้ตัดสินใจทำประกันคีย์แมนแล้ว มีขั้นตอนดังนี้

• ส่งคำขอเอาประกัน พร้อมเอกสารประกอบ
• ตรวจสุขภาพ
• ชำระเบี้ยประกัน และรับใบเสร็จชั่วคราว
• ขอหนังสือรับรองการชำระเบี้ยประกัน
• รับมอบกรมธรรม์


2. ใช้เอกสารอะไรบ้าง?

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้ง หรือผู้มีอำนาจ

1. สำเนาหนังสือรับรองการจดทำเบียนเป็นนิติบุคคล หรือ หนังสือจดทะเบียนการค้า หรือ หนังสือแสดงการจดทะเบียนองค์กร ฉบับปัจจุบัน หรือล่าสุดที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน
2. สำเนาบัตรประชาชนของกรรมการ หรือผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคล
3. หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประชาขนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีผู้ทีอำนาจลงนาม มอบอำนาจให้บุคคลอื่น)
4. สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
5. สำเนาบริคณห์สนธิ

เอกสารแสดงสถานะทางการเงินของบริษัท

1. สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ล่าสุด
2. รายการเงินฝากถอนบัญชีเงินฝาก (Bank Statement) ย้อนหลังล่าสุด 6 เดือน
3. งบกำไรขาดทุน งบดุล ย้อนหลัง 3 ปี
4. รายงานประจำปีของบริษัท หรือ เอกสารที่แสดงถึงบริษัทดำเนินธุรกิจใด มานานเท่าใด จำนวนพนักงานกี่คน
5. สำเนามติที่ประชุมกรรมการ หรือ ผู้ถือหุ้นบริษัท โดยวาระการประชุมจะต้องระบุ วัตถุประสงค์และเหตุผล ผู้ขอเอาประกันภัยเป็น Keyman และบริษัทจะชำระเบี้ยประกันให้

เอกสารของผู้ขอเอาประกันภัย (คีย์แมน)

1. สำเนาบัตรประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน (กรณีพิสูจน์ความสัมพันธ์ของผู้รับประโยชน์)
3. สำเนาสัญญาการว่าจ้างงาน และ/หรือหนังสือรับรองการทำงานที่มีรายละเอียดถึง ตำแหน่ง รายได้ ระยะเวลาร่วมงานกับบริษัท รวมถึงผลประโยชน์อื่นๆ

3. บันทึกบัญชีอย่างไร? ให้ถือปฏิบัติตามมาตราฐานการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป เช่น

4. ยื่นแบบภาษีอะไร เมื่อไหร่บ้าง?

• ภงด.1 และใบแนบ ภงด.1 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
• ภงด.1 ก และใบแนบ ภงด.1 ก ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป
• ออกหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) แสดงการจ่ายเงินได้ ค่าเบี้ยประกัน และภาษีภาษีออกแทนให้กับกรรมการ เพื่อนำไปเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.91) ต่อไป

1. ประกันคีย์แมน คืออะไร?

ประกันคีย์แมน (Keyman Insurance) คือ ประกันชีวิตที่กิจการเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันให้กับบุคคลสำคัญในองค์กร แล้วนำใบเสร็จค่าเบี้ยประกันมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้เต็มจำนวน ในการคำนวณหักออกจากกำไรสุทธิ ทำให้กิจการเสียภาษีนิติบุคคลลดลง

2. คีย์แมน หมายถึงใคร?

คีย์แมน หมายถึงบุคคลสำคัญในองค์กรโดยพิจารณาจาก• เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการธุรกิจให้มีความก้าวหน้าและมีผลกำไรให้องค์กร • เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญต่อบริษัท เช่น ผู้ที่มีทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์เฉพาะด้าน หรือ ความสามารถที่ยากต่อการทดแทนดังนั้น คีย์แมน ได้แก่ เจ้าของกิจการ, ประธาน, กรรมการ, ผู้จัดการ เป็นต้น

3. ประโยชน์ที่จะได้รับอะไร?

1) ได้ค่าใช้จ่ายที่ถูกต้อง ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร
2) ช่วยกิจการประหยัดภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุด 20% ตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
3) เป็นการเอาเงินออกจากกิจการไปสู่เจ้าของกิจการได้อย่างถูกต้อง และปลอดภาษี
4) สร้าง/ยกระดับสวัสดิการให้กับกรรมการ/ผู้บริหาร
5) สร้างกองทุนมรดก/ปกป้องค่าความสามารถให้กับกรรมการ/ผู้บริหาร

4. มีหลักฐานอ้างอิงไหม?

อ้างอิงจากข้อหารือของกรมสรรพากร ซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบันเกี่ยวกับการใช้เบี้ยประกันชีวิตของกรรมการมาเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้อย่างถูกต้องไม่ต้องห้าม ตามมาตรา 65 ตรี (3), (13) และ (19)